Criminal litigation

รับว่าความคดีอาญา

บริการงานคดี รับว่าความคดีอาญา

SALB มีบริการรับว่าความคดีอาญา ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้อง ต่อสู้คดีในชั้นศาล หรือการแจ้งความและให้การต่อพนักงานสอบสวนในชั้นโรงพัก

การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญา เป็นกระบวนการที่มีความเหมือนและแตกต่างจากการฟ้องคดีแพ่งในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งความเหมือนคือจะต้องมีคู่ความ 2  ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ที่ฟ้องคดีที่เป็นโจทก์ฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายที่เป็นผู้ถูกฟ้องคดี คือฝ่ายจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งและคดีอาญาคือ คดีแพ่งคู่ความจะต้องยื่นฟ้องคดีต่อศาลเองเท่านั้น แต่คดีอาญาสามารถเริ่มต้นการฟ้องร้องคดีได้ทั้งในส่วนของรัฐที่เป็นผู้ดำเนินการฟ้องร้องให้ และผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องคดีเองได้ด้วย

โดยขั้นตอนการเริ่มต้นคดีเพื่อให้รัฐดำเนินการฟ้องร้องให้นั้น จะเริ่มจากการแจ้งความเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการตั้งสำนวนและส่งสำนวนให้พนักงานอัยการฟ้องคดีต่อศาลให้ โดยผู้แทนหายเป็นพยานในสำนวนนั้น และพนักงานอัยการเป็นโจทก์ในสำนวนนั้น และเป็นการ “ฟ้องแทน” ผู้เสียหาย แต่การดำเนินการโดยรัฐในกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอน และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการพิจารณาตามลำดับชั้นของผู้มีอำนาจ ดังนั้นการฟ้องร้องโดยพนักงานอัยการจึงมีความล่าช้ามากกว่าการที่ผู้เสียหายดำเนินการฟ้องคดีเอง

เนื่องจากการฟ้องคดีอาญาเองนั้น ผู้เสียหายสามารถให้ทนายความดำเนินการช่วยเหลือ ในการสอบข้อเท็จจริง รวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และร่างฟ้อง เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลได้ จึงทำให้การฟ้องร้องคดีอาญาโดยทนายความจึงมีความรวดเร็ว และใช้ระยะเวลาในการฟ้องร้องจนถึงขั้นตอนการพิจารณาคดี การพิพากษาของศาลเป็นไปด้วยความกระชับและรวดเร็วกว่า

เมื่อเกิดการกระทำผิด ผู้เสียหายสามารถ 1) แจ้งความกับตำรวจ หรือ 2) ฟ้องศาล

ซึ่งการแจ้งความร้องทุกข์โดยเริ่มจากการร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและลงบันทึกประจำวัน นอกจากนี้ผู้เสียหายยังสามารถดำเนินคดีเองโดยให้ทนายความช่วยทำการฟ้องร้องโดยตรงต่อศาล

การฟ้องคดีอาญาและขั้นตอนภายหลังในห้อง

การฟ้องคดีอาญา (Prosecution of China Cases)

ขั้นตอนการฟ้องคดีอาญา

ในกรณีของผู้เสียหาย ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องคดีได้โดยอิสระต่างหากจากพนักงานอัยการ ดังนั้น ผู้เสียหายจึงอาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อทำการสอบสวน แล้วส่งสำนวนให้อัยการฟ้องร้องได้ทางหนึ่ง (หรืออาจยื่นฟ้องเสียเองได้อีกทางหนึ่ง) และหากผู้เสียหายจะใช้สิทธิทั้งสองทางเลยก็ย่อมทำได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ดังนั้นผู้เสียหายอาจจะใช้สิทธิร้องทุกข์เพื่อให้พนักงานอัยกการฟ้องร้องให้ และให้ทนายความดำเนินการฟ้องร้องให้อีกทางหนึ่งก็ได้ หรือจะให้ทนายความดำเนินการฟ้องร้องให้ตามที่กล่าวถึงผลดีในกรณีเช่นนี้ก็ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิ์ของผู้เสียหายนั้น ในบางกรณีมีข้อจำกัด เช่น ความเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต ซึ่งต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลทำการแทนหรือกรณีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ที่ว่า “ผู้ใดจะฟ้องบุพพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นร้องขอ พนักงานอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้

การฟ้องคดีอาญาต้องคำนึงถึงเขตและอำนาจของศาล

เขตศาล หมายถึงอาณาบริเวณที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าอยู่ภายใต้อำนาจของศาลใดศาลหนึ่งเป็นเขต ๆ ไป ดังนั้นเมื่อมีคดีอาญาเกิดขึ้นจึงต้องพิจารณาก่อนว่า คดีเหล่านี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลใด เพราะหากเป็นการฟ้องร้องผิดศาล ก็อาจส่งผลให้เกิดการยกฟ้องได้เช่นกัน ดังนั้นการพิจารณาว่าข้อหาที่จะฟ้อง รวมถึงมูลฐานในการกระทำความผิดอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด จึงต้องพิจารณาโดยทนายความผู้มีวิชาชีพและมีความรู้เชี่ยวชาญด้วย

ขั้นตอนการยื่นฟ้องคดีอาญา

เมื่อทนายความสอบข้อเท็จจริง รวบรวมพยานเอกสารตลอดจนทำคำฟ้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะดำเนินการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลจะรับเอกสารคำฟ้องพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ที่ทนายความได้ยื่นไว้ และนัดวันไต่สวนมูลฟ้อง ซึ่งกรณีการรับสำนวนเอกสารดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่การรับฟ้อง แต่เป็นการรับเอกสารเพื่อนัดวันไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อให้ศาล (ผู้พิพากษา) พิจารณาก่อนว่า “คดีมีมูล” หรือไม่ จึงจะดำเนินการประทับรับฟ้องและดำเนินการในขั้นตอนของการพิจารณาต่อไป

ขั้นตอนภายหลังการฟ้องคดีอาญา

เมื่อผู้ถูกฟ้องตกอยู่ในฐานะจำเลย ศาลจะหมายเรียกตัวให้มาพบ หากจำเลยหลบหนีก็จะถูกหมายจับ เพื่อดำเนินคดีต่อไป (ป.วิ.อาญา มาตรา 169) ผลกระทบที่จำเลยจะได้รับจากคำสั่งว่าคดีมีมูลก็คือ จำเลยจะถูกควบคุมตัวในระหว่างพิจารณาคดี เว้นแต่จำเลยได้ขอปล่อยตัวชั่วคราว (ขอประกันตัว) และศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกัน (ป.วิ.อาญา มาตรา 112)

ในทางปฏิบัติ พยานหลักฐานที่โจทก์นำไปประกอบการไต่สวนมูลฟ้องมักจะได้แก่ตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์อ้างตนเองเป็นพยาน ประกอบกับพยานบุคคลอื่น ๆ ซึ่งผู้เสียหายนำมาเป็นพยานหรือขอให้ศาลหมายเรียกตัวมาเป็นพยาน และพยานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีตามลำดับที่ปรากฏในบัญชีระบุพยาน ซึ่งฝ่ายโจทก์ได้เสนอไว้ต่อศาลตามกฎหมายลักษณะพยาน

ตัวอย่าง เช่น คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งมีโทษทางอาญา ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์มักจะอ้างตนเองเป็นพยานเป็นอันดับแรก พยานบุคคลอื่น ๆ เช่น ผู้จัดการธนาคารที่ปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คฉบับที่โจทก์นำมาฟ้อง ส่วนพยานเอกสาร ได้แก่ เช็คพร้อมใบคืนเช็ค ฯลฯ เป็นต้น

แต่กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ถูกฟ้อง แม้จะยังไม่อยู่ในฐานะจำเลยก็สามารถไปซักค้านพยานโจทก์ได้ ทั้งนี้ เพื่อทำลายน้ำหนักพยานโจทก์ให้ศาลเชื่อว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล

แต่ในทางปฏิบัติมักจะพบว่าผู้ถูกฟ้องไม่นิยมไปศาลด้วยตนเอง แต่จะแต่งทนายไปซักค้านแทน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเหตุว่าการไปศาลในวันไต่สวนมูลฟ้องด้วยตนเองอาจมีผลเสียในด้านที่จะถูกควบคุมตัว ถ้าหากศาลสั่งว่าคดีมีมูลและตนเตรียมหลักทรัพย์ไม่พร้อมที่จะขอประกันตัว ดังนั้นการมอบหมายให้ทนายไปศาลแทนจะทำให้ตนเองมีเวลาเตรียมหาเงินทองเพื่อชดใช้ให้โจทก์เพื่อเลิกคดีกัน หรือเตรียมหาหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดินเพื่อวางศาลประกันตัวได้ทัน ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลหนึ่งในหลาย ๆ เหตุที่ทำให้ผู้ถูกฟ้องไม่ไปศาลในวันไต่สวนมูลฟ้อง ผู้ถูกฟ้องบางรายรอฟังผลการไต่สวนมูลฟ้องอยู่นอกศาล พอทราบผลว่าศาลสั่งมีมูลก็ถือโอกาส ดังนั้นการเลือกใช้บริการการฟ้องร้อง/ให้การต่อสู้คดีอาญา จึงควรต้องพิจารณาถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญของทนายความด้วย เพื่อทนายความจะได้ช่วยพิจารณารูปคดี ตลอดจนแนะนำแนวทางในการฟ้องร้อง/ต่อสู้คดีอาญา เพื่อให้เกิดประโยชน์และความยุติธรรมแก่ลูกความมากที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *